3 ปัจจัยเกิดโรคในกุ้งขาว

3 ปัจจัยเกิดโรคในกุ้งขาว

กุ้งจะเป็นโรคได้นั้นเกิดจากองค์ประกอบร่วม 3 ประการพร้อมกัน คือ

1. กุ้ง (host) คือตัวกุ้งเอง ซึ่งอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ ซึ่งอาจเกิดได้จากพันธุ์ที่ไม่ดี ได้รับเชื้อโรคถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ หรือเกิดจากตัวกุ้งเองที่อยู่ในสภาพความเครียด ร่างกายจึงอ่อนแอ มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

2. เชื้อโรค (pathogen) คือ มีชนิดเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคนั้นๆ รวมถึงเชื้อโรคนั้นมีปริมาณมากพอที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้


3. สภาพแวดล้อม (environment) คือ สภาพแวดล้อมที่กุ้งอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเครียด มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กุ้งเป็นโรคได้ง่าย ได้แก่ การเตรียมบ่อไม่ดี มีความเป็นกรดสูง คุณภาพดินและน้ำไม่เหมาะสม มีของเสียสะสมในบ่อมากเกินไป ได้รับอาหารที่มีคุณภาพต่ำ ขาดแร่ธาตุ มีสารพิษปะปน มีปริมาณแพลงก์ตอนพืชสูงเกินไป รวมถึงการจัดการฟาร์มด้านอื่นๆ เช่น สุขอนามัยของฟาร์มไม่ดี เป็นต้น

     การเลี้ยงกุ้งจะประสบผลสำเร็จ ไม่เกิดปัญหาโรคระบาดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบโดยรวม ลูกพันธุ์กุ้ง อาหารกุ้ง อาหารที่มีชีวิตและที่สำคัญมองข้ามไม่ได้คือการเตรียมบ่อ การเตรียมน้ำก่อนการลงลูกกุ้ง ถ้ามีระบบจัดการการเตรียมบ่อที่ดี โดยใช้จุลินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นตัวช่วยในการเตรียมบ่อ ยิ่งเสริมให้กุ้งมีภูมิคุ้มกัน พื้นบ่อสะอาด ปราศจากโรคระบาด ไม่มีสารเคมีตกค้างการเลี้ยงกุ้งขาวก็จะประสบผลสำเร็จ

ไนไตรท์ ตัวร้ายของสัตว์น้ำ

ไนไตรท์ตัวร้ายของสัตว์น้ำ

ไนไตรท์ ตัวร้ายของสัตว์น้ำ!!!

   ไนไตรท์ (NO2-) เกิดจากการเปลี่ยนรูปทางเคมี ของสารประกอบไนโตรเจน โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่ม คีโมออโต้โทรป (Chemoautotroph) ที่สามารถดึงออกซิเจนออกจากสารประกอบไนโตรเจน (ไนเตรท) มาใช้เพื่อการดำรงชีพ

       ในกรณีที่ขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดการสะสมของไนไตรท์ และ การสะสมของของเสีย เช่น ขี้สัตว์น้ำ เศษอาหารเหลือ ซากสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้ เป็นแหล่งของสารประกอบไนโตรเจน ที่ทำให้เกิดไนไตรท์ขึ้นภายในบ่อเลี้ยงได้นั่นเอง

พิษของไนไตรท์ ‼️
1. ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
2. พิษของไนไตรท์ เป็นอันตรายต่อเหงือก ทำให้เกิดความระคายเคืองบริเวณซี่เหงือก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
3. ทำให้สูญเสียระบบการขับถ่ายน้ำ และเกลือแร่จากร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
4. การเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากขบวนการเผาผลาญอาหาร ภายในร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง
5. พิษของไนไตรท์ ทำให้ระบบการหายใจผิดปกติ ต้องหายใจถี่ขึ้น

สังเกตอาการกุ้งป่วย

สังเกตอาการกุ้งป่วย

     การสังเกตอาการกุ้งป่วยเพื่อให้ได้ทราบความผิดปกติได้เร็วนั้น สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้กุ้งที่เหลือป่วยเพิ่มขึ้น ด้วยการสังเกตกุ้ง ในยอและนอกยอ

ในยอ
– อาหารเหลือในยอ
– ในลําไส้ไม่มีอาหาร
– เคลื่อนไหวผิดปกติ
– พบกุ้งมีระยางค์ฉีกขาด, ตาย

นอกยอ
– เกยขอบบ่อ
– เหงือกสีผิดปกติ
– เปลือกมีสีผิดปกติ / ขรุยที่เปลือก
– ว่ายตามผิวน้ำ

เลี้ยงกุ้งหน้าหนาวต้องระวัง

เลี้ยงกุ้งหน้าหนาวต้องระวัง

เลี้ยงกุ้งหน้าหนาวควรให้ความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 👇
➡️ คัดเลือกลูกกุ้งที่แข็งแรงมีคุณภาพ ปลอดเชื้อ
➡️ ปล่อยลูกกุ้งในอัตราความหนาแน่นลดลงกว่าในช่วงฤดูการเลี้ยงปกติ เพื่อลดความเครียดของกุ้ง
➡️ ควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม เนื่องจากกุ้งจะกินอาหารลดลง มีการเสริมด้วยโปรไบโอติกให้กิน
➡️ ดูแลรักษาสภาพน้ำให้คงที่ มีการตรวจคุณภาพน้ำอยู่เสมอ
➡️ กำจัดพาหะและศัตรูของลูกกุ้ง ป้องกันไม่ให้กุ้งในบ่อติดเชื้อ เพราะเป็นอุณหภูมิต่ำ โอกาสที่กุ้งจะป่วยสูง
➡️ การจัดการระหว่างการเลี้ยงภายในบ่อที่ดี หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นในบ่อ และตัวกุ้ง

ไวรัสในกุ้ง

ไวรัสในกุ้ง

ไวรัสในกุ้ง มันเกิดมาจากสาเหตุอะไร
1. คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมกับการเลี้ยง
2. กุ้งติดเชื้อ white spot syndrome virus (WSSV) เชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อ เช่น เยื่อบุผิวใต้เปลือก ทางเดินอาหาร เหงือก หัวใจ

• ช่วงอายุไหนบ้างที่พบ
   พบได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ไข่จนถึงระยะพ่อแม่พันธุ์ กุ้งปกติกับกุ้งป่วยอยู่ร่วมกันได้ 36-48 ชม

• ติดต่อกันทางไหน
1⃣พ่อเเม่สู่ลูกผ่านทางไข่

2⃣จากทางน้ำที่ใช้เลี้ยงมีเชื้อปนเปื้อน

3⃣พาหะ กุ้ง กั้ง ปู มากกว่า 40 ชนิด

• อาการของโรคจะเป็นยังไง…?
กุ้งจะทยอยตายไปเรื่อยๆ มีระยะเวลาไม่เเน่นอนขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ เเละการจัดการฟาร์ม อาจไม่พบรอยโรคจุดขาว กินอาหารลดลง เคลื่อนไหวช้า ตายสะสม 30-80 % ตลอดการเลี้ยง และ กุ้งจะตายอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน หลังจากเเสดงอาการ ตายสะสม 80-100% มีรอยดวงขาว กุ้งอาจมีสีชมพูเเดง ไม่กินอาหาร ว่ายน้ำเชื่องช้ามักอยู่ใกล้ผิวน้ำหรือเกาะขอบบ่อ

• การป้องกัน
-หลีกเลี่ยงการปล่อยกุ้งในช่วงเสี่ยง ปล่อยน้อยลง
-เลือกลูกกุ้งคุณภาพดีปลอดเชื้อ
-ใช้จุลลินทรีย์ที่ดีควบคุมเชื้อในบ่อ
-มีบ่อพักน้ำเพียงพอสำหรับ เติม ถ่าย
-ป้องกันไม่ให้พาหะเข้าบ่อ
-หลีกเลี่ยงการปล่อยกุ้งในฤดูหนาว

หัว-หางกุ้ง ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

หัว-หางกุ้ง ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

   ถ้าพูดถึงอาหารทะเล คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้น “กุ้ง” ที่เป็นวัตถุดิบหลัก

   กุ้งไม่ได้มีดีแค่ให้ความอร่อย แต่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย แต่คนส่วนใหญ่จะเลือกกินเฉพาะเนื้อของมัน และจะเด็ดหัวเด็ดหางทิ้ง

   ..แต่รู้หรือไม่ว่า ส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุด ก็คือส่วนของ หัวและหางกุ้ง

🔹หัวกุ้ง
หรือ คางกุ้ง ใครหลาย ๆ คนมักจะโยนทิ้ง เพราะไม่เห็นประโยชน์ แท้จริงแล้ว หัวกุ้งมีประโยชน์อย่างมาก ที่ให้แคลเซียม และไคโตซาน ที่สามารถช่วยดักจับไขมันที่เป็นส่วนเกินของร่างกายได้เป็นอย่างดี

🔸หางกุ้ง
หางกุ้ง จะมีสารไคติน ซึ่งเป็นสารพอลิเมอร์ชีวภาพ และให้ประโยชน์ในการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง เนื่องจากมีโปรตีนที่สูง และมีคอลลาเจน ที่สามารถช่วยซ่อมแซมผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวที่ตายไปแล้ว อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

กินกุ้งชะลอวัย

กุ้งช่วยชะลอวัย

  กุ้งมีคุณสมบัติที่ช่วยชะลอวัย เนื่องจากกุ้งมีสารคาโรทีนนอยด์ที่ชื่อว่าแอสตาแซนธินอยู่มาก ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพดี ที่ช่วยลดสัญญาณแห่งวัยของผิวที่เกิดจากแสงแดดและรังสียูวีเอ

   ดังนั้น กุ้งจึงมีส่วนช่วยในการลดเลือนริ้วรอยและจุดด่างดำได้ดี เพียงแค่เพิ่มกุ้งลงไปในเมนูอาหารของคุณเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากแสงแดดที่มาทำร้ายผิว หนึ่งในสาเหตุหลักของการทำร้ายผิว

กุ้งช่วยลดน้ำหนักได้

กุ้งช่วยลดน้ำหนักได้

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า กุ้งมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้อย่างไร?


คำตอบ คือ กุ้งเป็นแหล่งโปรตีนและวิตามินที่ดีเลิศ โดยไม่เพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารเลย ดังนั้น สำหรับใครก็ตามที่ต้องการลดน้ำหนักแล้ว กุ้งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เหมาะอย่างยิ่ง

   ส่วนเปลือกของกุ้งจะมีสารที่เรียกว่า ไคติน (Chitin) ซึ่งในทางการแพทย์ระบุว่าไคตินเป็นสารที่ไม่ดูดซึมเข้าร่างกาย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ คล้ายกับอาหารจำพวกไฟเบอร์

 

   ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ค่อยดี โดยเคี้ยวกุ้งที่มีขนาดไม่ใหญ่มากทั้งเปลือกและอีกสาเหตุหนึ่งที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก นั่นก็ คือ สารสังกะสีในตัวกุ้งที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเลปตินซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการกักเก็บไขมัน ความอยากอาหารและการใช้พลังงานโดยรวมของร่างกาย รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคของการลดน้ำหนักได้ดีขึ้น

คุณค่าสารอาหารจากกุ้ง

คุณค่าสารอาหารจากกุ้ง

  คุณค่าสารอาหารจากกุ้ง  ส่วนหลักๆ ของกุ้งที่นิยมนำมาประกอบอาหารมากที่สุดก็ คือ ส่วนลำตัวที่มีเนื้อมากไปจนถึงหางกุ้ง แต่ส่วนอื่นๆ ก็นิยมมาทำเป็นอาหารได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสูตรอาหารของแต่ละคน เพราะไม่ว่าส่วนไหนๆ ของกุ้งก็ยังให้สารอาหารดีๆ แถมแคลอรี่ต่ำ (ประมาณ 1 แคลอรี่ต่อหนึ่งกรัม)

 

   กุ้งมีโปรตีนสูง มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำ แม้จะมีปริมาณไขมันอยู่บ้าง แต่ประโยชน์หลักๆของกุ้งอยู่ที่วิตามินและแร่ธาตุ ทั้งเหล็ก แคลเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส สังกะสี แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ตลอดจนวิตามินเอ อี บี 6 และแม้แต่บี 12 แถมยังมีไอโอดีน ไทอามิน ริโบฟลาวิน และไนอาซินด้วย 

อย่าปล่อยให้ขี้แดดลอยนวล

อย่าปล่อยให้ขี้แดดลอยนวล

     หลังจากที่เราจับกุ้ง สภาพก้นบ่อจะมีน้ำขัง สีเขียวเข้มหนืด และมีขี้แดดลอยขึ้นผิวน้ำเป็นจำนวนมาก ขี้แดดนั้นเกิดจาก ในบ่อมีอาหารแพลงก์ตอนสะสมเป็นจำนวนมาก ทำให้แพลงก์ตอนเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อแพลงก์ตอนตายจะทิ้งซากเป็นจำนวนมากจับตัวกลายเป็น “ขี้แดด”

     “อาหารของแพลงก์ตอนมาจากไหน…?” มาจากอาหารที่กุ้งจับกินแล้วตกหล่นลงพื้น และอีกหนึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไป หรือที่เรียกว่า “Overfeeding” สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ยิ่งมีสารอินทรีย์ในบ่อมาก ขี้แดดก็จะมีมากตามไปด้วย

     ในสภาวะที่พื้นบ่อมีขี้แดด เป็นจำนวนมากถ้าเราไม่มีการบำบัด หรือจัดการที่ดีเมื่อเราเติมน้ำจนเต็มเพื่อเลี้ยง ขี้แดดและสารอินทรีย์จำนวนมากทีสะสมซึ่งการหมักและเน่ายังสงผลให้ เกิดแก๊สแอมโมเนีย ก๊าซไนโตรท์ และอื่นๆอีกมากมายทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของกุ้ง กุ้งอ่อนแอ และตายในที่สุด ขี้แดดจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสะอาดของพื้นบ่อกุ้งของเรานั้นเอง