ดินที่เหมาะกับการทำบ่อกุ้ง

ดินที่เหมาะกับการทำบ่อกุ้ง

     ลักษณะของดิน ควรเป็นดินที่มีปริมาณดินเหนียวมากพอที่จะทำให้สามารถอุ้มน้ำและก่อสร้างบ่อเลี้ยงกุ้งได้

 

     บ่อลักษณะที่เป็นดินเหนียวปนทราย จะเหมาะสำหรับสำหรับสร้างบ่อมากที่สุด ดินต้องไม่เป็นดินกรด (acid potential soil) หรือเป็นดินที่มีไพไรท์สูง
..ดินที่มีศักยภาพเป็นดินกรดนั้น เราสังเกตจากดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่า 4 หรือมีสีคลายสนิมเหล็ก

 

     ดินและน้ำในบ่อมีความเป็นกรด-ด่างต่ำไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ ดินที่มีสภาพกรด จะทำให้ปล่อยไอออนของโลหะหนักเช่น เหล็ก และอลูมิเนียมออกมาจับกับฟอสเฟต

…. เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถเตรียมสีน้ำได้ และทำให้กุ้งโตช้า ….

แพลงก์ตอนที่ก่อให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงกุ้ง

แพลงก์ตอนกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน

     แพลงก์ตอนกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นแพลงก์ตอนที่ก่อให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็มต่ำ

     เมื่อแพลงก์ตอนกลุ่มนี้มีการเพิ่มจำนวนมากในบ่อกุ้ง จะมีผลทำให้ค่าพีเอชสูงช่วงบ่าย ต่ำในช่วงเช้า และค่าออกซิเจนสูงในช่วงบ่าย และต่ำในช่วงเช้า

     แก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำร่วมกับการใช้จุลินทรีย์เป็นประจำหรือใส่ปูนลดปริมาณแพลงก์ตอน เช่น ปูนแคลเซียม หรือปูนมาร์ล ตอนกลางคืน อัตรา50กิโลกรัม/ไร่

สร้างสุขลักษณะที่ดีพื้นบ่อกุ้งด้วยจุลินทรีย์

สร้างสุขลักษณะที่ดีพื้นบ่อกุ้งด้วยจุลินทรีย์

     การเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันส่วนใหญ่เลี้ยงแบบพัฒนา (Intensive farm) ที่ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น และสิ่งที่ตามมาคือ “ของเสียสะสมพื้นบ่อ”
     ในแต่ละวันในบ่อที่มีลูกกุ้งจำนวนมาก อาหารก็ต้องมากพอต่อความต้องการของกุ้งที่จะต้องนำสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตและสิ่งสุดท้ายเมื่อระบบย่อยสมบูรณ์ก็จะขับถ่ายของเสียออกมาในรูปของแอมโมเนีย โปรตีนและไขมันต่างๆ บางส่วนลอยกระจ่ายอยู่ในน้ำ และอีกบางส่วนจมลงสู่พื้นบ่อเป็นแหล่งอาหารและเพาะเชื้อแบคทีเรีย จะสังเกตเห็นได้ง่ายเมื่อเราจับกุ้งเสร็จ เลนพื้นบ่อจะมีกลิ่นแก๊สไข่เน่า เลนมีสีดำสิ่งเหล่านี้และที่จะสร้างปัญหาให้เราในการเลี้ยงกุ้งรอบต่อไปโดยหลายๆคนอาจมองข้ามไปว่า ปล่อยไว้เฉยๆ ตากแดดแห้งก็หมดปัญหา แต่ไม่ใช่อย่างที่คุณคิด !! ขี้เลนดำกลับเป็นภัยเงียบย้อนมาทำให้เราเลี้ยงกุ้งไม่ผ่าน

     สุขลักษณะที่ดีพื้นบ่อกุ้งสร้างได้ไม่ยากอย่างที่คิด ด้วยผลิตภัณฑ์ไบโอชิป (BioChip) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดดีที่คอยดูแลพื้นบ่อ พลิกเลนเสียให้กลายเป็นเลนดี จุลินทรีย์เมื่อลงสู่น้ำและออกจากระยะพักตัวแล้วจะเข้าย่อยสลายของเสียต่างๆ ในพื้นบ่อให้มีโมเลกุลเล็กลง และยึดครองพื้นที่ไม่ให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่ก่อโรค ขยายตัว ได้เป็นอย่างดี เมื่อของเสียถูกย่อยสลาย แบคทีเรียต่างๆมีจำนวนลดลง กลิ่นแก๊สไข่เน่าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากแก็สหรือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์เหล่านี้ ล้วนมาจากแบคทีเรียตัวร้ายนั้นเอง
     เมื่อบ่อกุ้งของเรามีสุขลักษณะที่ดีแล้ว กุ้งก็จะอยู่อย่างมีความสุข จะทำให้การกินอาหารของกุ้งดี อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ต่ำ สิ่งเหล่านี้สร้างได้ สร้างเลย เพียงสองมือเราและไบโอชิป (BioChip)

ของเสียพื้นบ่อนั้นมาจากไหน?

ของเสียพื้นบ่อมาจากไหน

     ถ้าจะพูดถึงบ่อเก่า ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งมาเป็นเวลานาน โดยที่ไม่เคยมีการฉีดเลน หรือกำจัดเลนพื้นบ่อ ของเสียก็มีการสะสมเยอะตามกาลเวลา ของเสียพื้นบ่อนั้นมาจากไหน? …… ก็มาจาก!! อาหารเหลือที่กุ้งกินไม่หมดแล้วตกลงสู่พื้นบ่อ และขี้กุ้งที่ถูกขับถ่ายออกมาทุกวันๆ เป็นบ่อเกิดของแก๊สไข่เน่า เป็นที่บ่มเพาะเชื้อแบคทีเรียชั้นเลิศ เพียงแค่ของเสียพื้นบ่อ ถ้าเรามองข้ามจุดนี้ไป “ไม่กำจัด ไม่บำบัด” ปัญหาต่างๆมากมาย ก็จะตามมาเช่น เลี้ยงกุ้งแล้วร่วง เลี้ยงกุ้งแล้วไม่โต เป็นต้น

     ดังนั้น กุ้งจะรอด ดงรงชีวิตได้ถึงจับ “พื้นบ่อต้องดี พื้นบ่อต้องไม่เน่า” แล้วเราจะดูแลพื้นบ่ออย่างไรไม่ให้พื้นบ่อเรามีปัญหา

   1. ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อคุณภาพน้ำ กุ้งกินหมดไม่เหลือตกค้าง สะสมก้นบ่อ และยังประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย
   2. เลือกผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เติมลงไปในบ่อ เพื่อย่อยสลายขี้กุ้ง ไว้วางใจผลิตภัณฑ์ ไบโอชิป   จุลินทรีย์ สำหรับบำบัดของเสียพื้นบ่อ สามารถลดกลิ่นเหม็นได้เป็นอย่างดี

   เห็นไหมละครับ พื้นบ่อสำคัญแค่ไหน เพราะทุกๆวันกุ้งต้องอยู่ ต้องกินอยู่ที่พื้นบ่อตลอดเวลา 24 ชั่วโมง แล้วเราจะปล่อยให้พื้นบ่อเน่า… ทำไม?

ดูสินค้า คลิ๊ก

สุราษฎร์ธานี

ตัวแทนจำหน่ายภาคใต้ - จังหวัดสุราษฎร์ธานี

1.ร้านบางใหญ่ อินเตอร์ฟีด

ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โทร. 077-491-020, 091-826-3633

นครศรีธรรมราช

ตัวแทนจำหน่ายภาคใต้ - จังหวัดนครศรีธรรมราช

1.ร้านช.เทคนิคกุ้ง สาขาเกาะเพชร

ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

โทร. 092-325-1659

ร้าน ช.เทคนิคกุ้ง

2.ร้านจงเจริญแลปกุ้ง

ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร นครศรีธรรมราช
โทร 082-416-2694

งานวันกุ้งไทยครั้งที่ 31

กิจกรรม

กิจกรรม วันกุ้งไทย ครั้งที่ 31

“2022 พลิกวิกฤต เพิ่มผลผลิต ฟื้นกุ้งไทย”

•  ตั้งแต่วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2565 นี้

•  สถานที่จัดงาน ณ โรงแรมวังใต้ สุราษฎร์ธานี

*** บูธ B2 ห้องท่าวัง 1 ***

ลงทะเบียนรับโทนิคฟีด ฟรี!!

คลิกข้างล่างนี้ได้เลย

กำหนดการสัมมนา

แผนผังงาน

*** บูธ B2 ห้องท่าวัง 1 ***

ผลของโพรไบโอติก Bacillus subtilis ต่อการควบคุม Vibrio spp.

ผลของโพรไบโอติก Bacillus subtilis ต่อการควบคุม Vibrio spp. และอัตรารอดตายในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไม

Effect of probiotic Bacillus subtilis on control of Vibrio spp. and survival

of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) larvae

อภิฤดี สงสุข , นิจธร สังข์ศิรินทร์ และ พัชรินทร์ สุวรรณมาลี

วารสารแก่นเกษตร 46 ฉบับพิเศษ ปี 2561

สรุปผลการทดลอง

     1. จากการทดลองใช้โพรไบโอติกชนิด Bacillus subtilis ในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไมในช่วงระยะนอเพลียสถึงซูเอีย 3 และระยะโพสลาร์วา 10 ถุง โพสลาร์วา 15 พบว่าอัตราการรอดตายของลูกกุ้งในกลุ่มที่มีการเติมโพรไบโอติกทั้งสามระดับความเข้มข้นมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติมจุลินทรีย์ โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้น 0.0075 มิลลิกรัมต่อลิตร

 

     2. ปริมาณแบคทีเรียวิบริโอในกลุ่มที่เติมโพรไบโอติกทั้งสามระดับความเข้มข้นมีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมตลอดระยะเวลาการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไมทั้งสองช่วงระยะ โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้น 0.0075 มิลลิกรัมต่อลิตร

 

     3. คุณสมบัติของน้ำทั้ง 2 ช่วงอายุของกุ้งในบ่อทดลองที่ใส่โพรไบโอติกและบ่อควบคุมที่ไม่เติมโพรไบโอติกส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งแวนนาไม

การทดสอบผลิตภัณฑ์ TRANSFISH เพื่อการขนส่งลูกปลานิล

การทดสอบผลิตภัณฑ์ TRANSFISH เพื่อการขนส่งลูกปลานิล

ภาควิชาจุลชีววิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

สรุปผลการทดลอง

     ผลิตภัณฑ์ TRANSFISH มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณแอมโมเนียในน้ำที่ใช้ขนส่งปลาในช่วง 4-6 ชั่วโมงแรกของการขนส่งและมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อใช้ที่ระดับความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการรักษาค่า pH ให้คงที่ที่ระดับค่า pH 7-8 ในช่วง 4-6 ชั่วโมงของการขนส่งไม่แตกต่างกันในทุกระดับความเข้มข้น ได้แก่ 100, 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลิตภัณฑ์ไม่มีผลต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และผลิตภัณฑ์ช่วยให้ปลามีอัตรารอดตายสูงขึ้นในช่วง 6-24 ชั่วโมงของการขนส่ง

การศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ในการลดปริมาณสารอินทรีย์จากการเลี้ยงกุ้ง

การศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ในการลดปริมาณสารอินทรีย์จากการเลี้ยงกุ้ง​

The effectiveness of two microbial products to reduce the amount of organic matter from shrimpculture

สิริพงษ์ วงศ์พรประทีป(1,2) และ อนิรุจน์ เกื้อเพชรแก้ว(1)

1.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

2.หน่วยวิจัยการวิจัยการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

สรุปผลการทดลอง

    จากการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ไบโอชิป (BioChip) และ ไบโอไทม์ (BioTime) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เติมแบคทีเรีย พบว่าการใช้แบคทีเรียในการบำบัดน้ำและตะกอนเลนจากการเลี้ยงลุ้งนั้นมีผลดีเห็นได้จากปริมาณสารอินทรีย์ที่ลดลงอย่างสม่ำเสมอในระหว่างที่มีการใช้แบคทีเรียและเหลือปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับวันเริ่มการทดลองโดยมีระยะเวลาในการย่อยสลายประมาณ 5-10 วัน ในสภาวะที่มีออกซิเจนจะให้ผลดีที่สุด