5 เทคนิคพิชิตขี้ขาว

🦐 “5 เทคนิคพิชิตขี้ขาว”
โรคขี้ขาว เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โรคนี้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล เกษตรกรหลายรายต้องสูญเสียผลผลิตและรายได้
 
😎 วันนี้ทาง WhiteCrane ShrimpMaster มีเทคนิคและแนวทางป้องกัน ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการพิชิตโรคร้ายนี้ ได้มาดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง
 
1. ทำให้น้ำในบ่อโปร่งอยู่เสมอ 🌊
น้ำที่มีความโปร่งแสงจะทำให้ระบบน้ำในบ่อมีภาวะสมดุลอยู่ตลอดเวลา แพลงก์ตอนพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ เมื่อมีแพลงก์ตอนพืชมากเกินไป ออกซิเจนในน้ำจะลดลง ส่งผลเสียต่อสุขภาพของกุ้ง
2. ควบคุมการให้อาหาร 🍴
เศษอาหารที่เหลือจากการให้อาหารกุ้ง จะสร้างปัญหาให้กับคุณภาพน้ำในบ่อ รวมถึงก้นบ่อด้วย ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้จะสะสมหมักหมมเพิ่มความสกปรกให้พื้นบ่อทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่างๆ
3. พื้นบ่อต้องสะอาด 👍
พื้นบ่อ มักจะมีของเสียสะสมมาก ซึ่งมากจากเศษอาหารที่เหลือ รวมถึงขี้กุ้งที่ถูกขับถ่ายออกมาทุกวัน เป็นจุดรวมของเสียและเชื้อก่อโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของทุกปัญหา
4. คลุกโปรไบโอติกให้กินทุกวัน 🤘
จากผลการวิจัยเรื่องโปรไบโอติกพบว่า สามารถลดเชื้อก่อโรค ทำให้กุ้งมีอัตรารอดที่สูง สร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่ดี สามารถทนทานต่อแอมโมเนียในน้ำได้ดี กุ้งที่กินโปรไบโอติกมักทนต่อแอมโมเนียมากกว่ากุ้งที่ไม่ได้รับโปรไบโอติก
5. ห้ามให้ยาปฏิชีวนะ เด็ดขาด! 🚫
ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรค และแบคทีเรียชนิดที่ดี ที่มีประโยชน์ต่อกุ้ง เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นจะฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
 
ปัญหาขี้ขาวเป็นปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงกุ้งไม่ว่าจะเป็นกุ้งบ่อดิน หรือบ่อปูพีอี ซึ่งจะทำให้กุ้งกินอาหารถอย ขนาดลำตัวเล็ก เปลือกบาง และพบว่ามีอัตราการตายค่อนข้างสูงและรวดเร็ว
 
หวังว่า 5 เทคนิคที่กล่าวไปข้างต้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเข้าใจปัญหาและแนวทางในการดูแล และแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาขี้ขาวมากขึ้น และนำไปปรับใช้กับบ่อของทุกคนได้

รู้ไว้ กุ้งไม่ตาย หน้าร้อน

🦞 “รู้ไว้กุ้งไม่ตาย! กับ 3 ภัยร้าย หน้าร้อน”

📣 หน้าร้อนมาถึงแล้ว ☀️ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบ่อกุ้งของเรา มาดูกันว่าปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงกุ้งในฤดูร้อนมีอะไร รวมถึงแนวทางแก้ไขเป็นอย่างไรบ้าง

1. อุณหภูมิที่สูงขึ้น 🥵
– ผลกระทบต่อระบบเผาผลาญของกุ้ง: อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลต่อระบบเผาผลาญของกุ้ง ทำให้กุ้งกินอาหารมากขึ้น แต่ย่อยอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดขี้กุ้งและสารอินทรีย์ในบ่อมากขึ้น
– ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง: อุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ลดลง ทำให้กุ้งหายใจลำบาก
– การเจริญเติบโตของเชื้อโรคและแบคทีเรีย: อุณหภูมิที่สูงขึ้น กระตุ้นให้เชื้อโรคและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้กุ้งเป็นโรคได้ง่าย


✔️ แนวทางการแก้ไข 👍
ควบคุมอุณหภูมิในบ่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม :
– ใช้อุปกรณ์เพิ่มอากาศ เช่น เครื่องตีน้ำ
– เปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อ
ให้อาหารกุ้งในปริมาณที่เหมาะสม : เลือกอาหารที่มีคุณภาพดี ย่อยง่าย
ตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ : ปรับค่า pH และความเค็มให้เหมาะสม
แนวทางป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรีย : ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดูแลรักษาบ่อให้สะอาด

2. ปัญหาน้ำ 🌊
– อุณหภูมิในบ่อสูง : อุณหภูมิที่สูงขึ้นในหน้าร้อน ส่งผลให้น้ำในบ่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นเช่นกัน อุณหภูมิที่สูงเกินไปส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ลดลง ทำให้กุ้งหายใจลำบาก
– ระดับน้ำลดลง : ในหน้าร้อน ปริมาณน้ำฝนมีน้อยลง ระดับน้ำในบ่ออาจลดลง ส่งผลต่อคุณภาพน้ำและปริมาณออกซิเจน
– น้ำเข้ม : แสงแดดจัด อุณหภูมิที่สูง และเศษอาหารตกค้างในบ่อ ส่งผลให้น้ำในบ่อมีสีเข้มขึ้น คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
– คุณภาพน้ำต่ำ : น้ำในบางพื้นที่ในหน้าร้อน อาจมีคุณภาพต่ำ ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกุ้ง เช่น มีความเค็มสูง มีสารเคมีปนเปื้อน


✔️ แนวทางการแก้ไข 👍
ควบคุมอุณหภูมิในบ่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม :
– ใช้อุปกรณ์เพิ่มอากาศ เช่น เครื่องตีน้ำ
– เปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อ
เติมน้ำใหม่ลงในบ่อ :
– เลือกแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี
– ปรับค่า pH และความเค็มให้เหมาะสม
ดูแลรักษาบ่อ :
– รักษาความสะอาด
– กำจัดวัชพืช
– ป้องกันสัตว์นักล่า
ตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ :
– วัดค่า pH
– วัดค่าความเค็ม
– วัดค่าออกซิเจน
– ตรวจสอบปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรต

3. โรคและปัญหาสุขภาพ 🦐
ภูมิคุ้มกันต่ำ : อุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง ทำให้กุ้งมีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคได้ง่าย

โรคที่พบบ่อย :
โรคตัวแดงดวงขาว : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio harveyi อาการที่พบคือ กุ้งมีจุดแดงที่เปลือก กุ้งซึม ไม่กินอาหาร

โรคกุ้งตายด่วน : เกิดจากเชื้อไวรัส White Spot Syndrome Virus (WSSV) อาการที่พบคือ กุ้งตายเฉียบพลัน เปลือกกุ้งมีสีขาว

โรคขี้ขาว : เมื่อกุ้งได้รับเชื้อกรีการีน เข้าไปในทางเดินอาหาร เชื้อจะพัฒนาเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ลำไส้ถูกอุดตันด้วยพยาธิ ทำให้ลำไส้อุดตัน กินอาหารน้อยลง

ปัญหาสุขภาพอื่นๆ:
– กุ้งลอกคราบไม่สมบูรณ์
– กุ้งแคระแกร็น
– กุ้งกินอาหารไม่ดี

✔️ แนวทางการแก้ไข 👍
– ควบคุมอุณหภูมิในบ่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
– ให้อาหารที่มีคุณภาพดี ย่อยง่าย
– ตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ

ป้องกันโรค:
– ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
– ดูแลรักษาบ่อให้สะอาด
– ป้องกันสัตว์นักล่า
– รักษาความสะอาดของบ่อ

หวังว่าข้อมูลที่กล่าวไปข้างต้น จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเข้าใจปัญหา แนวทางในการดูแล และแก้ไขเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งในฤดูร้อนมากขึ้น และนำไปปรับใช้กับบ่อของทุกคนได้

เทคนิคเลือกกุ้งสด

เทคนิคเลือกกุ้งสด

     คุณพ่อบ้าน คุณแม่บ้านเคยเจอปัญหาไหม กับการเลือกซื้อกุ้งแล้วเนื้อเปื่อย รสชาติเหม็นเน่า เนื้อกุ้งขม
วันนี้เรามี 4 เทคนิคการเลือกซื้อกุ้งมาฝากครับ

1. เลือกกุ้งที่ตาใสคือ ตากลมดำใส
2. เลือกกุ้งที่ตัวใส คือ ลำตัวต้องใส ไม่ดำ เนื้อกุ้งต้องแน่น เปลือกกุ้งเป็นเงางาม
3. เลือกกุ้งหัวติด คือ ส่วนหัว ลำตัว และหางจะต้องติดกัน ไม่มีการขาดจากกัน
4. กุ้งสดๆกลิ่นไม่มีกลิ่นคาวฉุน หรือกลิ่นคาวที่แรงกว่าปกติ

 

     เท่านี้ก็ได้กุ้งสดๆ ไปทำอาหารมื้ออร่อยแแล้ว

ทำไมเราถึงแพ้กุ้ง

ทำไมเราแพ้กุ้ง

     เคยสงสัยไหม? ทำไมเราถึงแพ้กุ้ง การแพ้กุ้ง หลายๆ ท่านอาจจะแพ้กุ้งทะเล หรือบางท่านอาจจะแพ้กุ้งน้ำจืด
สาเหตุก็มาจาก กุ้งน้ำจืดมีสารที่สามารถก่อภูมิแพ้ได้ คือ โปรตีนฮีโมไซยานิน (Haemocyanin Protein)
ส่วนในกุ้งทะเลจะเป็นสารโปรตีนลิพิด บายดิง (Lipid-Binding Protein) และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน (Alpha Actinin Protein) เป็นต้น

     แต่หลายๆ ท่านพิเศษไปกว่านั้น อาจจะไม่ได้แพ้กุ้ง แท้ที่จริงแล้วแพ้เปลือกของกุ้ง เพราะในนั้นมีสาร “ไคดิน” ประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก และจะส่งผลให้แพ้สัตว์เปลือกแข็งทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น กั้ง หรือ ปู เป็นต้น

     อาการแพ้อาหารนั้นเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ โดยอาจเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารในทันทีหรือเกิดขึ้นหลังรับประทานไปหลายชั่วโมง อาการแพ้มีลักษณะอาการต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เช่น ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ลำไส้และกระเพราอาหาร เป็นต้น

     การรับมือกับอาการแพ้กุ้งที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพื่อป้องกันอาการแพ้ ถ้าหากรับประทานไปแล้วเกิดอาการแพ้ในระดับที่ไม่รุนแรงอาจใช้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้ สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง มีอาการเวียนศีรษะ ความดันต่ำ หรือรู้สึกคล้ายจะหมดสติ ควรเรียกรถพยาบาลทันที อย่างไรก็ตาม หากหาสาเหตุของการแพ้ไม่ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหาสารก่ออาการแพ้ด้วยวิธีทางการแพทย์

ข้อมูลจาก Pobpad

ปัญหาการเลี้ยงกุ้งในหน้าฝน

ปัญหาการเลี้ยงกุ้งในหน้าฝน

     สภาพอากาศช่วงนี้คงจะเข้าหน้าฝนอย่างเต็มตัวแล้ว ชาวไร่ ชาวนาคงจะได้สบายใจที่มีน้ำในการทำเกษตรกัน แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหรือเลี้ยงปลาคงจะต้องหนักใจกับสภาพอากาศที่แปรปรวนไม่สามารถควบคุมได้ ปัญหาการเลี้ยงกุ้งช่วงหน้าฝน มีดังนี้

1. การเตรียมบ่อ
กำจัดเลนออกไม่หมด ของเสียหมักหมม
2. กุ้งเป็นโรคง่าย
เมื่อฝนตกติดต่อกันหลายๆวัน อุณหภูมิต่ำ กุ้งภูมิคุ้มกันต่ำติดเชื้อโรคง่าย
3. กุ้งลอยตัวและตายหลังฝนตก
น้ำฝนใหลลงบ่อ ทำให้ของเสียก้นบ่อกระจ่าย ออกซิเจนต่ำ กุ้งตาย
4.น้ำเปลี่ยนสีหลังฝนตก
น้ำฝนชะล้างเลนคันบ่อลงน้ำ แพลงก์ตอนตายอุดตันเหงือกกุ้ง
5.เกิดแผลตามตัวมากกว่าปกติ
pH น้ำฝนต่ำ แร่ธาตุต่างๆในน้ำต่ำดึงแร่ธาตุไปใช้ในการลอกคราบไม่ได้ กุ้งตัวนิ่มตาย
6.กุ้งเติบโตช้า
อุณหภูมิต่ำจากน้ำฝน กินอาหารน้อย อัตราการแลกเนื้อต่ำ ต้นทุนเพิ่มขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการกุ้งกุลาดำ

คุณค่าทางโภชนาการกุ้งกุลาดำ

     คุณค่าทางโภชนาการกุ้งกุลาดำ ด้วยเนื้อกุ้งสด 100 กรัม
– ให้พลังงาน 92 Kcal
– โปรตีน 20.1 g
– ไขมัน 1.3 g
– แคลเซียม 8 g

 

     และยังให้ประโยชน์อื่นๆ เช่น โปรตีนสูงแคลอรี่ก็ต่ำอาหารทางเลือกสำหรับการลดน้ำหนัก ไอโดดีนสูงช่วยควบคุมพลังงาน มีคุณสมบัติที่ช่วยชะลอวัย เป็นต้น

อุณหภูมิสูง คนเลี้ยงกุ้งต้องทำไง

อุณหภูมิสูง คนเลี้ยงกุ้งต้องทำไง

     ปัญหาของอากาศร้อนและภัยแล้ง
จะส่งผลต่อผู้เลี้ยงกุ้งมี ประเด็นหลักๆ 2 ประเด็น
1. บ่อพักมีน้ำเปลี่ยนถ่ายไม่เพียงพอ
2. บ่อตื้นพื้นบ่อมีความเค็มสูง


      หากอุณหภูมิผิวน้ำสูงถึง 34 องศาเซลเซียส ทำให้กุ้งเครียดไม่ยอมกินอาหาร ยิ่งเป็นกุ้งขาวด้วยแล้วแค่อุณหภูมิผิวน้ำแตะ 32 องศาเซลเซียสจะทำให้กุ้งไม่กินอาหาร 
     ยิ่งบ่อตื้นน้ำน้อยยิ่งกระทบเยอะ นอกจากปัญหาน้ำไม่พอแล้วช่วงหน้าแล้งโรคก็มากตามไปด้วยโดยเฉพาะทอร่า เริ่มเจอตั้งแต่ช่วงเมษายน เนื่องจากกุ้งไม่ยอมกินอาหาร อ่อนแอและติดเชื้อง่าย กุ้งจะตายเสียหายค่อนข้างสูง

วิธีการแก้ไข
1. ควรต้องเตรียมเรื่องบ่อพักน้ำให้ดี ถ้าไม่มีบ่อพักก็ควรทิ้งร้างให้ว่างไว้เก็บน้ำ 1 บ่อหนึ่งเพื่อหมุนเวียนน้ำดี
2. ควรลงลูกกุ้งที่มีคุณภาพ ลงไม่แน่นจนเกินไป ลงแต่พอดีจะไม่เสี่ยง

3 ปัจจัยเกิดโรคในกุ้งขาว

3 ปัจจัยเกิดโรคในกุ้งขาว

กุ้งจะเป็นโรคได้นั้นเกิดจากองค์ประกอบร่วม 3 ประการพร้อมกัน คือ

1. กุ้ง (host) คือตัวกุ้งเอง ซึ่งอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ ซึ่งอาจเกิดได้จากพันธุ์ที่ไม่ดี ได้รับเชื้อโรคถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ หรือเกิดจากตัวกุ้งเองที่อยู่ในสภาพความเครียด ร่างกายจึงอ่อนแอ มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

2. เชื้อโรค (pathogen) คือ มีชนิดเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคนั้นๆ รวมถึงเชื้อโรคนั้นมีปริมาณมากพอที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้


3. สภาพแวดล้อม (environment) คือ สภาพแวดล้อมที่กุ้งอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเครียด มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กุ้งเป็นโรคได้ง่าย ได้แก่ การเตรียมบ่อไม่ดี มีความเป็นกรดสูง คุณภาพดินและน้ำไม่เหมาะสม มีของเสียสะสมในบ่อมากเกินไป ได้รับอาหารที่มีคุณภาพต่ำ ขาดแร่ธาตุ มีสารพิษปะปน มีปริมาณแพลงก์ตอนพืชสูงเกินไป รวมถึงการจัดการฟาร์มด้านอื่นๆ เช่น สุขอนามัยของฟาร์มไม่ดี เป็นต้น

     การเลี้ยงกุ้งจะประสบผลสำเร็จ ไม่เกิดปัญหาโรคระบาดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบโดยรวม ลูกพันธุ์กุ้ง อาหารกุ้ง อาหารที่มีชีวิตและที่สำคัญมองข้ามไม่ได้คือการเตรียมบ่อ การเตรียมน้ำก่อนการลงลูกกุ้ง ถ้ามีระบบจัดการการเตรียมบ่อที่ดี โดยใช้จุลินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นตัวช่วยในการเตรียมบ่อ ยิ่งเสริมให้กุ้งมีภูมิคุ้มกัน พื้นบ่อสะอาด ปราศจากโรคระบาด ไม่มีสารเคมีตกค้างการเลี้ยงกุ้งขาวก็จะประสบผลสำเร็จ

ไนไตรท์ ตัวร้ายของสัตว์น้ำ

ไนไตรท์ตัวร้ายของสัตว์น้ำ

ไนไตรท์ ตัวร้ายของสัตว์น้ำ!!!

   ไนไตรท์ (NO2-) เกิดจากการเปลี่ยนรูปทางเคมี ของสารประกอบไนโตรเจน โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่ม คีโมออโต้โทรป (Chemoautotroph) ที่สามารถดึงออกซิเจนออกจากสารประกอบไนโตรเจน (ไนเตรท) มาใช้เพื่อการดำรงชีพ

       ในกรณีที่ขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดการสะสมของไนไตรท์ และ การสะสมของของเสีย เช่น ขี้สัตว์น้ำ เศษอาหารเหลือ ซากสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้ เป็นแหล่งของสารประกอบไนโตรเจน ที่ทำให้เกิดไนไตรท์ขึ้นภายในบ่อเลี้ยงได้นั่นเอง

พิษของไนไตรท์ ‼️
1. ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
2. พิษของไนไตรท์ เป็นอันตรายต่อเหงือก ทำให้เกิดความระคายเคืองบริเวณซี่เหงือก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
3. ทำให้สูญเสียระบบการขับถ่ายน้ำ และเกลือแร่จากร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
4. การเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากขบวนการเผาผลาญอาหาร ภายในร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง
5. พิษของไนไตรท์ ทำให้ระบบการหายใจผิดปกติ ต้องหายใจถี่ขึ้น

สังเกตอาการกุ้งป่วย

สังเกตอาการกุ้งป่วย

     การสังเกตอาการกุ้งป่วยเพื่อให้ได้ทราบความผิดปกติได้เร็วนั้น สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้กุ้งที่เหลือป่วยเพิ่มขึ้น ด้วยการสังเกตกุ้ง ในยอและนอกยอ

ในยอ
– อาหารเหลือในยอ
– ในลําไส้ไม่มีอาหาร
– เคลื่อนไหวผิดปกติ
– พบกุ้งมีระยางค์ฉีกขาด, ตาย

นอกยอ
– เกยขอบบ่อ
– เหงือกสีผิดปกติ
– เปลือกมีสีผิดปกติ / ขรุยที่เปลือก
– ว่ายตามผิวน้ำ