เลี้ยงกุ้งหน้าหนาวต้องระวัง

เลี้ยงกุ้งหน้าหนาวต้องระวัง

เลี้ยงกุ้งหน้าหนาวควรให้ความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 👇
➡️ คัดเลือกลูกกุ้งที่แข็งแรงมีคุณภาพ ปลอดเชื้อ
➡️ ปล่อยลูกกุ้งในอัตราความหนาแน่นลดลงกว่าในช่วงฤดูการเลี้ยงปกติ เพื่อลดความเครียดของกุ้ง
➡️ ควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม เนื่องจากกุ้งจะกินอาหารลดลง มีการเสริมด้วยโปรไบโอติกให้กิน
➡️ ดูแลรักษาสภาพน้ำให้คงที่ มีการตรวจคุณภาพน้ำอยู่เสมอ
➡️ กำจัดพาหะและศัตรูของลูกกุ้ง ป้องกันไม่ให้กุ้งในบ่อติดเชื้อ เพราะเป็นอุณหภูมิต่ำ โอกาสที่กุ้งจะป่วยสูง
➡️ การจัดการระหว่างการเลี้ยงภายในบ่อที่ดี หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นในบ่อ และตัวกุ้ง

ไวรัสในกุ้ง

ไวรัสในกุ้ง

ไวรัสในกุ้ง มันเกิดมาจากสาเหตุอะไร
1. คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมกับการเลี้ยง
2. กุ้งติดเชื้อ white spot syndrome virus (WSSV) เชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อ เช่น เยื่อบุผิวใต้เปลือก ทางเดินอาหาร เหงือก หัวใจ

• ช่วงอายุไหนบ้างที่พบ
   พบได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ไข่จนถึงระยะพ่อแม่พันธุ์ กุ้งปกติกับกุ้งป่วยอยู่ร่วมกันได้ 36-48 ชม

• ติดต่อกันทางไหน
1⃣พ่อเเม่สู่ลูกผ่านทางไข่

2⃣จากทางน้ำที่ใช้เลี้ยงมีเชื้อปนเปื้อน

3⃣พาหะ กุ้ง กั้ง ปู มากกว่า 40 ชนิด

• อาการของโรคจะเป็นยังไง…?
กุ้งจะทยอยตายไปเรื่อยๆ มีระยะเวลาไม่เเน่นอนขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ เเละการจัดการฟาร์ม อาจไม่พบรอยโรคจุดขาว กินอาหารลดลง เคลื่อนไหวช้า ตายสะสม 30-80 % ตลอดการเลี้ยง และ กุ้งจะตายอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน หลังจากเเสดงอาการ ตายสะสม 80-100% มีรอยดวงขาว กุ้งอาจมีสีชมพูเเดง ไม่กินอาหาร ว่ายน้ำเชื่องช้ามักอยู่ใกล้ผิวน้ำหรือเกาะขอบบ่อ

• การป้องกัน
-หลีกเลี่ยงการปล่อยกุ้งในช่วงเสี่ยง ปล่อยน้อยลง
-เลือกลูกกุ้งคุณภาพดีปลอดเชื้อ
-ใช้จุลลินทรีย์ที่ดีควบคุมเชื้อในบ่อ
-มีบ่อพักน้ำเพียงพอสำหรับ เติม ถ่าย
-ป้องกันไม่ให้พาหะเข้าบ่อ
-หลีกเลี่ยงการปล่อยกุ้งในฤดูหนาว

หัว-หางกุ้ง ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

หัว-หางกุ้ง ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

   ถ้าพูดถึงอาหารทะเล คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้น “กุ้ง” ที่เป็นวัตถุดิบหลัก

   กุ้งไม่ได้มีดีแค่ให้ความอร่อย แต่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย แต่คนส่วนใหญ่จะเลือกกินเฉพาะเนื้อของมัน และจะเด็ดหัวเด็ดหางทิ้ง

   ..แต่รู้หรือไม่ว่า ส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุด ก็คือส่วนของ หัวและหางกุ้ง

🔹หัวกุ้ง
หรือ คางกุ้ง ใครหลาย ๆ คนมักจะโยนทิ้ง เพราะไม่เห็นประโยชน์ แท้จริงแล้ว หัวกุ้งมีประโยชน์อย่างมาก ที่ให้แคลเซียม และไคโตซาน ที่สามารถช่วยดักจับไขมันที่เป็นส่วนเกินของร่างกายได้เป็นอย่างดี

🔸หางกุ้ง
หางกุ้ง จะมีสารไคติน ซึ่งเป็นสารพอลิเมอร์ชีวภาพ และให้ประโยชน์ในการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง เนื่องจากมีโปรตีนที่สูง และมีคอลลาเจน ที่สามารถช่วยซ่อมแซมผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวที่ตายไปแล้ว อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

กินกุ้งชะลอวัย

กุ้งช่วยชะลอวัย

  กุ้งมีคุณสมบัติที่ช่วยชะลอวัย เนื่องจากกุ้งมีสารคาโรทีนนอยด์ที่ชื่อว่าแอสตาแซนธินอยู่มาก ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพดี ที่ช่วยลดสัญญาณแห่งวัยของผิวที่เกิดจากแสงแดดและรังสียูวีเอ

   ดังนั้น กุ้งจึงมีส่วนช่วยในการลดเลือนริ้วรอยและจุดด่างดำได้ดี เพียงแค่เพิ่มกุ้งลงไปในเมนูอาหารของคุณเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากแสงแดดที่มาทำร้ายผิว หนึ่งในสาเหตุหลักของการทำร้ายผิว

กุ้งช่วยลดน้ำหนักได้

กุ้งช่วยลดน้ำหนักได้

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า กุ้งมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้อย่างไร?


คำตอบ คือ กุ้งเป็นแหล่งโปรตีนและวิตามินที่ดีเลิศ โดยไม่เพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารเลย ดังนั้น สำหรับใครก็ตามที่ต้องการลดน้ำหนักแล้ว กุ้งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เหมาะอย่างยิ่ง

   ส่วนเปลือกของกุ้งจะมีสารที่เรียกว่า ไคติน (Chitin) ซึ่งในทางการแพทย์ระบุว่าไคตินเป็นสารที่ไม่ดูดซึมเข้าร่างกาย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ คล้ายกับอาหารจำพวกไฟเบอร์

 

   ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ค่อยดี โดยเคี้ยวกุ้งที่มีขนาดไม่ใหญ่มากทั้งเปลือกและอีกสาเหตุหนึ่งที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก นั่นก็ คือ สารสังกะสีในตัวกุ้งที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเลปตินซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการกักเก็บไขมัน ความอยากอาหารและการใช้พลังงานโดยรวมของร่างกาย รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคของการลดน้ำหนักได้ดีขึ้น

คุณค่าสารอาหารจากกุ้ง

คุณค่าสารอาหารจากกุ้ง

  คุณค่าสารอาหารจากกุ้ง  ส่วนหลักๆ ของกุ้งที่นิยมนำมาประกอบอาหารมากที่สุดก็ คือ ส่วนลำตัวที่มีเนื้อมากไปจนถึงหางกุ้ง แต่ส่วนอื่นๆ ก็นิยมมาทำเป็นอาหารได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสูตรอาหารของแต่ละคน เพราะไม่ว่าส่วนไหนๆ ของกุ้งก็ยังให้สารอาหารดีๆ แถมแคลอรี่ต่ำ (ประมาณ 1 แคลอรี่ต่อหนึ่งกรัม)

 

   กุ้งมีโปรตีนสูง มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำ แม้จะมีปริมาณไขมันอยู่บ้าง แต่ประโยชน์หลักๆของกุ้งอยู่ที่วิตามินและแร่ธาตุ ทั้งเหล็ก แคลเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส สังกะสี แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ตลอดจนวิตามินเอ อี บี 6 และแม้แต่บี 12 แถมยังมีไอโอดีน ไทอามิน ริโบฟลาวิน และไนอาซินด้วย 

อย่าปล่อยให้ขี้แดดลอยนวล

อย่าปล่อยให้ขี้แดดลอยนวล

     หลังจากที่เราจับกุ้ง สภาพก้นบ่อจะมีน้ำขัง สีเขียวเข้มหนืด และมีขี้แดดลอยขึ้นผิวน้ำเป็นจำนวนมาก ขี้แดดนั้นเกิดจาก ในบ่อมีอาหารแพลงก์ตอนสะสมเป็นจำนวนมาก ทำให้แพลงก์ตอนเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อแพลงก์ตอนตายจะทิ้งซากเป็นจำนวนมากจับตัวกลายเป็น “ขี้แดด”

     “อาหารของแพลงก์ตอนมาจากไหน…?” มาจากอาหารที่กุ้งจับกินแล้วตกหล่นลงพื้น และอีกหนึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไป หรือที่เรียกว่า “Overfeeding” สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ยิ่งมีสารอินทรีย์ในบ่อมาก ขี้แดดก็จะมีมากตามไปด้วย

     ในสภาวะที่พื้นบ่อมีขี้แดด เป็นจำนวนมากถ้าเราไม่มีการบำบัด หรือจัดการที่ดีเมื่อเราเติมน้ำจนเต็มเพื่อเลี้ยง ขี้แดดและสารอินทรีย์จำนวนมากทีสะสมซึ่งการหมักและเน่ายังสงผลให้ เกิดแก๊สแอมโมเนีย ก๊าซไนโตรท์ และอื่นๆอีกมากมายทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของกุ้ง กุ้งอ่อนแอ และตายในที่สุด ขี้แดดจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสะอาดของพื้นบ่อกุ้งของเรานั้นเอง

ดินที่เหมาะกับการทำบ่อกุ้ง

ดินที่เหมาะกับการทำบ่อกุ้ง

     ลักษณะของดิน ควรเป็นดินที่มีปริมาณดินเหนียวมากพอที่จะทำให้สามารถอุ้มน้ำและก่อสร้างบ่อเลี้ยงกุ้งได้

 

     บ่อลักษณะที่เป็นดินเหนียวปนทราย จะเหมาะสำหรับสำหรับสร้างบ่อมากที่สุด ดินต้องไม่เป็นดินกรด (acid potential soil) หรือเป็นดินที่มีไพไรท์สูง
..ดินที่มีศักยภาพเป็นดินกรดนั้น เราสังเกตจากดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่า 4 หรือมีสีคลายสนิมเหล็ก

 

     ดินและน้ำในบ่อมีความเป็นกรด-ด่างต่ำไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ ดินที่มีสภาพกรด จะทำให้ปล่อยไอออนของโลหะหนักเช่น เหล็ก และอลูมิเนียมออกมาจับกับฟอสเฟต

…. เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถเตรียมสีน้ำได้ และทำให้กุ้งโตช้า ….

แพลงก์ตอนที่ก่อให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงกุ้ง

แพลงก์ตอนกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน

     แพลงก์ตอนกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นแพลงก์ตอนที่ก่อให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็มต่ำ

     เมื่อแพลงก์ตอนกลุ่มนี้มีการเพิ่มจำนวนมากในบ่อกุ้ง จะมีผลทำให้ค่าพีเอชสูงช่วงบ่าย ต่ำในช่วงเช้า และค่าออกซิเจนสูงในช่วงบ่าย และต่ำในช่วงเช้า

     แก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำร่วมกับการใช้จุลินทรีย์เป็นประจำหรือใส่ปูนลดปริมาณแพลงก์ตอน เช่น ปูนแคลเซียม หรือปูนมาร์ล ตอนกลางคืน อัตรา50กิโลกรัม/ไร่

สร้างสุขลักษณะที่ดีพื้นบ่อกุ้งด้วยจุลินทรีย์

สร้างสุขลักษณะที่ดีพื้นบ่อกุ้งด้วยจุลินทรีย์

     การเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันส่วนใหญ่เลี้ยงแบบพัฒนา (Intensive farm) ที่ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น และสิ่งที่ตามมาคือ “ของเสียสะสมพื้นบ่อ”
     ในแต่ละวันในบ่อที่มีลูกกุ้งจำนวนมาก อาหารก็ต้องมากพอต่อความต้องการของกุ้งที่จะต้องนำสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตและสิ่งสุดท้ายเมื่อระบบย่อยสมบูรณ์ก็จะขับถ่ายของเสียออกมาในรูปของแอมโมเนีย โปรตีนและไขมันต่างๆ บางส่วนลอยกระจ่ายอยู่ในน้ำ และอีกบางส่วนจมลงสู่พื้นบ่อเป็นแหล่งอาหารและเพาะเชื้อแบคทีเรีย จะสังเกตเห็นได้ง่ายเมื่อเราจับกุ้งเสร็จ เลนพื้นบ่อจะมีกลิ่นแก๊สไข่เน่า เลนมีสีดำสิ่งเหล่านี้และที่จะสร้างปัญหาให้เราในการเลี้ยงกุ้งรอบต่อไปโดยหลายๆคนอาจมองข้ามไปว่า ปล่อยไว้เฉยๆ ตากแดดแห้งก็หมดปัญหา แต่ไม่ใช่อย่างที่คุณคิด !! ขี้เลนดำกลับเป็นภัยเงียบย้อนมาทำให้เราเลี้ยงกุ้งไม่ผ่าน

     สุขลักษณะที่ดีพื้นบ่อกุ้งสร้างได้ไม่ยากอย่างที่คิด ด้วยผลิตภัณฑ์ไบโอชิป (BioChip) ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดดีที่คอยดูแลพื้นบ่อ พลิกเลนเสียให้กลายเป็นเลนดี จุลินทรีย์เมื่อลงสู่น้ำและออกจากระยะพักตัวแล้วจะเข้าย่อยสลายของเสียต่างๆ ในพื้นบ่อให้มีโมเลกุลเล็กลง และยึดครองพื้นที่ไม่ให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่ก่อโรค ขยายตัว ได้เป็นอย่างดี เมื่อของเสียถูกย่อยสลาย แบคทีเรียต่างๆมีจำนวนลดลง กลิ่นแก๊สไข่เน่าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากแก็สหรือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์เหล่านี้ ล้วนมาจากแบคทีเรียตัวร้ายนั้นเอง
     เมื่อบ่อกุ้งของเรามีสุขลักษณะที่ดีแล้ว กุ้งก็จะอยู่อย่างมีความสุข จะทำให้การกินอาหารของกุ้งดี อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ต่ำ สิ่งเหล่านี้สร้างได้ สร้างเลย เพียงสองมือเราและไบโอชิป (BioChip)