ผลของโพรไบโอติก Bacillus subtilis ต่อการควบคุม Vibrio spp.

ผลของโพรไบโอติก Bacillus subtilis ต่อการควบคุม Vibrio spp. และอัตรารอดตายในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไม

Effect of probiotic Bacillus subtilis on control of Vibrio spp. and survival

of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) larvae

อภิฤดี สงสุข , นิจธร สังข์ศิรินทร์ และ พัชรินทร์ สุวรรณมาลี

วารสารแก่นเกษตร 46 ฉบับพิเศษ ปี 2561

สรุปผลการทดลอง

     1. จากการทดลองใช้โพรไบโอติกชนิด Bacillus subtilis ในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไมในช่วงระยะนอเพลียสถึงซูเอีย 3 และระยะโพสลาร์วา 10 ถุง โพสลาร์วา 15 พบว่าอัตราการรอดตายของลูกกุ้งในกลุ่มที่มีการเติมโพรไบโอติกทั้งสามระดับความเข้มข้นมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติมจุลินทรีย์ โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้น 0.0075 มิลลิกรัมต่อลิตร

 

     2. ปริมาณแบคทีเรียวิบริโอในกลุ่มที่เติมโพรไบโอติกทั้งสามระดับความเข้มข้นมีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมตลอดระยะเวลาการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไมทั้งสองช่วงระยะ โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้น 0.0075 มิลลิกรัมต่อลิตร

 

     3. คุณสมบัติของน้ำทั้ง 2 ช่วงอายุของกุ้งในบ่อทดลองที่ใส่โพรไบโอติกและบ่อควบคุมที่ไม่เติมโพรไบโอติกส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งแวนนาไม

การทดสอบผลิตภัณฑ์ TRANSFISH เพื่อการขนส่งลูกปลานิล

การทดสอบผลิตภัณฑ์ TRANSFISH เพื่อการขนส่งลูกปลานิล

ภาควิชาจุลชีววิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

สรุปผลการทดลอง

     ผลิตภัณฑ์ TRANSFISH มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณแอมโมเนียในน้ำที่ใช้ขนส่งปลาในช่วง 4-6 ชั่วโมงแรกของการขนส่งและมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อใช้ที่ระดับความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการรักษาค่า pH ให้คงที่ที่ระดับค่า pH 7-8 ในช่วง 4-6 ชั่วโมงของการขนส่งไม่แตกต่างกันในทุกระดับความเข้มข้น ได้แก่ 100, 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลิตภัณฑ์ไม่มีผลต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และผลิตภัณฑ์ช่วยให้ปลามีอัตรารอดตายสูงขึ้นในช่วง 6-24 ชั่วโมงของการขนส่ง

การศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ในการลดปริมาณสารอินทรีย์จากการเลี้ยงกุ้ง

การศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ในการลดปริมาณสารอินทรีย์จากการเลี้ยงกุ้ง​

The effectiveness of two microbial products to reduce the amount of organic matter from shrimpculture

สิริพงษ์ วงศ์พรประทีป(1,2) และ อนิรุจน์ เกื้อเพชรแก้ว(1)

1.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

2.หน่วยวิจัยการวิจัยการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

สรุปผลการทดลอง

    จากการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ไบโอชิป (BioChip) และ ไบโอไทม์ (BioTime) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เติมแบคทีเรีย พบว่าการใช้แบคทีเรียในการบำบัดน้ำและตะกอนเลนจากการเลี้ยงลุ้งนั้นมีผลดีเห็นได้จากปริมาณสารอินทรีย์ที่ลดลงอย่างสม่ำเสมอในระหว่างที่มีการใช้แบคทีเรียและเหลือปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับวันเริ่มการทดลองโดยมีระยะเวลาในการย่อยสลายประมาณ 5-10 วัน ในสภาวะที่มีออกซิเจนจะให้ผลดีที่สุด